เข้าใจว่าควรส่งต่อข้อความเมื่อใด
ข้อความที่มีป้าย “ส่งต่อแล้ว” ช่วยให้คุณพิจารณาได้ว่าเพื่อนหรือญาติของคุณเขียนข้อความนั้นหรือมาจากบุคคลอื่นตั้งแต่แรก เมื่อส่งต่อข้อความจากผู้ใช้รายหนึ่งไปยังผู้ใช้อีกรายมากกว่า 5 ครั้ง การดำเนินการนี้จะแสดงไอคอนลูกศรคู่
ตรวจสอบรูปภาพและสื่ออย่างรอบคอบ
รูปภาพ การบันทึกเสียง และวิดีโอสามารถแก้ไขเพื่อทำให้คุณเข้าใจผิดได้ ตรวจสอบแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเพื่อดูว่ามีการรายงานเรื่องดังกล่าวในที่อื่นหรือไม่ เมื่อมีการรายงานเรื่องราวในหลายๆ แห่ง ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเรื่องจริง
คอยระวังข้อความที่ดูแตกต่าง
ข้อความหรือลิงก์เว็บไซต์จำนวนมากที่มีข่าวลวงโลกหรือข่าวปลอมจะสะกดคำผิด คอยระวังสัญญาณเหล่านี้เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลมีความแม่นยำหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อความลวงหลอก โปรดอ่านที่บทความนี้
เช็คความโน้มเอียงของคุณ
คอยระวังข้อมูลที่ยืนยันความเชื่อก่อนหน้านี้ของคุณและตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะแชร์ข้อมูล เรื่องราวที่เชื่อได้ยากมักจะไม่เป็นจริง
ข่าวปลอมมักจะได้รับความนิยมแบบไวรัล
แม้ว่าจะมีการแชร์ข้อความหลายๆ ครั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องจริง อย่าส่งต่อข้อความเพราะว่าผู้ส่งขอให้คุณส่ง หากคุณเห็นบางอย่างที่เป็นเท็จ บอกคนที่ส่งข้อความถึงคุณและขอให้พวกเขายืนยันข้อมูลก่อนที่จะแชร์ หากมีกลุ่มหรือผู้ติดต่อส่งข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง ให้รายงานบุคคลเหล่านั้น หากต้องการเรียนรู้วิธีรายงานผู้ติดต่อหรือกลุ่ม โปรดอ่านบทความนี้
ยืนยันกับแหล่งที่มาอื่นๆ
หากยังไม่แน่ใจว่าเป็นข้อความจริงหรือไม่ ให้ค้นหาข้อเท็จจริงทางออนไลน์และตรวจสอบเว็บไซต์ข่าวที่เชื่อถือได้เพื่อดูแหล่งที่มาของเรื่องราว หากคุณยังคงมีข้อสงสัย ให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือผู้คนที่คนเชื่อถือ
สำคัญ: หากคุณรู้สึกว่าคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตรายทางอารมณ์หรือทางกายภาพ โปรดติดต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ของคุณ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่จะพร้อมให้ความช่วยเหลือสำหรับกรณีเหล่านี้